วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุป หลักการในการเลือกสื่อการสอน

จากแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ สามารถสรุปเป็นหลักการอย่างง่ายในการเลือกสื่อการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
ผู้สอนควรศึกษาถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนดไว้ วัตถุประสงค์ในที่นี้หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะในแต่ละส่วนของเนื้อหาย่อย ไม่ใช่วัตถุประสงค์ในภาพรวมของหลักสูตร เช่น หลักสูตรกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ว่า หลังการเรียนผู้เรียนควรจำแนกรสเปรี้ยวและรสหวานได้ ดังนั้นงานการเรียนรู้ควรเป็นประสบการณ์ตรง ผู้สอนควรพิจารณาว่าสื่อการสอนที่เหมาะสมจะใช้กับการให้ประสบการณ์ตรงได้แก่อะไรบ้าง ซึ่งจากตัวอย่าง อาจเลือกใช้ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว กับขนมหวานให้ผู้เรียนได้ชิมรสด้วยตนเอง เป็นต้น

ลักษณะเฉพาะตัวต่างๆ ของผู้เรียนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้สื่อการสอน ในการเลือกสื่อการสอนต้องพิจารณาลักษณะต่างๆ ของผู้เรียน เช่น อายุ เพศ ความถนัด ความสนใจ ระดับสติปัญญา วัฒนธรรม และประสบการณ์เดิม ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนที่เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาควรใช้เป็นภาพการ์ตูนมีสีสันสดใส ในขณะที่การสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาอาจใช้เป็นภาพเหมือนจริงได้ ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกสื่อให้เหมาะสมกับลักษณะผู้เรียนนั้นควรศึกษาจากผลงานวิจัย




4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน
ในการสอนแต่ละครั้งจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนสอน ในห้องก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กันในการใช้สื่อการสอน เช่น การสอนผู้เรียนจำนวนมาก จำเป็นต้องใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ซึ่งสื่อการสอนที่นำมาใช้อาจเป็นเครื่องฉายต่าง ๆ และเครื่องเสียง เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นและได้ยินอย่างทั่วถึง ส่วนการสอนผู้เรียนเป็นรายบุคคล อาจเลือกใช้วิธีการสอนแบบค้นคว้า สื่อการสอนอาจเป็นหนังสือบทเรียนแบบโปรแกรม หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น

5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมในที่นี้อาจได้แก่ อาคาร สถานที่ ขนาดพื้นที่ แสง ไฟฟ้า เสียงรบกวน อุปกรณ์อำนวยความสะดวก หรือ บรรยากาศ สิ่งเหล่านี้ควรนำมาประกอบการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอน ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนจำนวนมากซึ่งควรจะใช้เครื่องฉายและเครื่องเสียง แต่สถานที่สอนเป็นลานโล่งมีหลังคา ไม่มีผนังห้อง มีแสงสว่างจากภายนอกส่องเข้ามาถึง ดังนั้นการใช้เครื่องฉายที่ต้องใช้ความมืดในการฉายก็ต้องหลีกเลี่ยง มาเป็นเครื่องฉายประเภทที่สามารถฉายโดยมีแสงสว่างได้ เป็นต้น
6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ
ควรเลือกใช้สื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของ เสียง สีสัน รูปทรง ขนาด ตลอดจนการออกแบบและการผลิตด้วยความประณีต สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้สื่อการสอนมีความน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ อาจก่อให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน น่าสนใจ หรือสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้เรียน
7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษา และบำรุงรักษา ได้สะดวก
ในประเด็นสุดท้ายของการพิจารณา ควรเลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งานได้สะดวก ไม่ยุ่งยาก และหลังใช้งานควรเก็บรักษาได้ง่ายๆ ตลอดจนไม่ต้องใช้วิธีการบำรุงรักษาที่สลับซับซ้อนหรือมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง

         

หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน



หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน
2. เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน
เนื้อหาของบทเรียนอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น เป็นข้อความ เป็นแนวคิด เป็นภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว เป็นเสียง เป็นสี ซึ่งการเลือกสื่อการสอนควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา ตัวอย่างเช่น การสอนเรื่องสีต่างๆ สื่อก็ควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกได้ถึงลักษณะของสีต่างๆ ตามที่สอน ดังนั้นควรเลือกสื่อการสอนที่ให้เนื้อหาสาระครอบคลุมตามเนื้อหาที่จะสอน มีการให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และมีรายละเอียดมากเพียงพอที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน สื่อการสอนมีอยู่หลากหลายรูปแบบหลากหลายประเภท   การเลือกสื่อการสอนมีความสำคัญมากต่อกระบวนการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามในการเลือกสื่อการสอนพึงระลึกไว้เสมอว่า "ไม่มีสื่อการสอนอันใดที่ใช้ได้ดีที่สุดในทุกสถานการณ์" ในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการสอนต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน ผู้ใช้สื่อไม่ควรยกเอาความสะดวก ความถนัด หรือความพอใจส่วนตัวเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกสื่อการสอนเพราะอาจเกิดผลเสียต่อกระบวนการเรียนการสอนได้
แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกสื่อการสอนก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจและให้คำแนะนำไว้หลากหลายมุมมอง ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะแนวคิดของโรมิสซอว์สกี้ และแนวคิดของเคมพ์และสเมลไล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ก. แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของโรมิสซอว์สกี้
A. J. Romiszowski (1999) ได้เสนอแนวทางอย่างง่ายในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนไว้ว่า ในการเลือกสื่อการสอนนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการเลือกสื่อที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่
1. วิธีการสอน (Instructional Method) การเลือกวิธีการสอนเป็นปัจจัยแรกที่ควบคุมการเลือกสื่อ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่จำกัดทางเลือกของการใช้สื่อการสอนในการนำเสนอ เช่น ถ้าเลือกใช้วิธีการสอนแบบอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกันระหว่างผู้เรียน ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดว่า การเลือกใช้เทปเสียง หรือ ใช้โทรทัศน์ย่อมไม่เหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากสื่อดังกล่าวมีข้อจำกัดในเรื่องของการให้ผลย้อนกลับ หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นต้น
2. งานการเรียนรู้ (Learning Task) สิ่งที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการเลือกสื่อการสอนอีกประการหนึ่งคือ งานการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน เพราะสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่จำกัดหรือควบคุมการเลือกวิธีการสอน ตัวอย่างเช่น การฝึกอบรมผู้ตรวจการ หรือทักษะการบริหารงาน ซึ่งมักจะนิยมใช้วิธีการสอนแบบการอภิปรายกลุ่ม เพื่อผู้ตรวจการแต่ละคนแบ่งปันประสบการณ์ของตนกับผู้เข้ารับการอบรมอื่นๆ การใช้กรณีศึกษาซึ่งนำเสนอด้วยภาพยนตร์ ก็เป็นตัวอย่างทางเลือกหนึ่งที่ถูกกำหนดให้เลือกจากวิธีการสอน
3. ลักษณะของผู้เรียน (Learner Characteristics) ลักษณะพิเศษเฉพาะของผู้เรียนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการเลือกสื่อการสอน ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า โดยการใช้หนังสือหรือเอกสารเป็นสื่อการสอน จะเป็นสิ่งที่ยิ่งทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาในกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนกลุ่มนี้ควรเรียนรู้จากสื่ออื่นๆ ที่ทำการรับรู้และเรียนรู้ได้ง่ายกว่านั้น
4. ข้อจำกัดในทางปฏิบัติ (Practical Constrain) ข้อจำกัดในทางปฏิบัติในที่นี้หมายถึง ข้อจำกัดทั้งทางด้านการจัดการ และทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการสอน เช่น สถานที่ใช้สื่อการสอน สิ่งอำนวยความสะดวก ขนาดพื้นที่ งบประมาณ เป็นต้น
5. ผู้สอนหรือครู (Teacher) สื่อการสอนแต่ละชนิดไม่ว่าจะมีข้อดีอย่างไร แต่อาจไม่ถูกนำไปใช้เพียงเพราะผู้สอนไม่มีทักษะในการใช้สื่อนั้นๆ นอกจากประเด็นในเรื่องทักษะของผู้สอนแล้ว ประเด็นในเรื่องทัศนคติของผู้สอนก็เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อการสอนเช่นกัน


ข. แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของเคมพ์และสเมลไล
Jerrold E. Kemp และ Don C. Smelle (1989) เสนอว่า นอกจากงานการเรียนรู้หรือสถานการณ์การเรียนรู้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดถึงสื่อที่จะเลือกใช้แล้ว สิ่งสำคัญประการต่อมาในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนคือ คุณลักษณะของสื่อ ซึ่งผู้สอนควรศึกษาคุณลักษณะของสื่อแต่ละชนิดประกอบในการเลือกสื่อการสอนด้วย
คุณลักษณะของสื่อ (Media Attributes) หมายถึง ศักยภาพของสื่อในการแสดงออกซึ่งลักษณะต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว สี และเสียง เป็นต้น คำถามพื้นฐานในการเลือกสื่อคือ "คุณลักษณะของสื่อแบบใดที่จำเป็นสำหรับสถานการณ์การเรียนรู้ในแบบที่กำหนดให้" คุณลักษณะของสื่อที่สำคัญ ได้แก่
1. การแสดงแทนด้วยภาพ (เช่น ภาพถ่าย ภาพกราฟิก)
2. ปัจจัยทางด้านขนาด (เช่น การใช้/ไม่ใช้เครื่องฉายเพื่อขยายขนาด)
3. ปัจจัยทางด้านสี (เช่น สีสันต่างๆ ขาว-ดำ)
4. ปัจจัยทางด้านการเคลื่อนไหว (เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว)
5. ปัจจัยทางด้านภาษา (เช่น ข้อความ/ตัวอักษร เสียงพูด)
6. ความสัมพันธ์ของภาพและเสียง (เช่น ภาพที่มี/ไม่มีเสียงประกอบ)
7. ปัจจัยทางด้านการจัดระเบียบข้อมูล (กำหนดให้ดูทีละภาพตามลำดับ หรือตามลำดับที่ผู้ชมเลือก)

นอกจากนี้ Kemp และ Smellie ได้แนะนำอีกว่า ในการเลือกสื่อการสอน อาจเริ่มต้นจากการตอบคำถาม 3 ข้อดังต่อไปนี้ (Kemp และ Smellie 1989)
1. วิธีการสอนแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุดกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และลักษณะของผู้เรียน เช่น  ควรใช้การนำเสนอ การเรียนรู้ด้วยตนเองตามจังหวะการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน หรือการเรียนแบบกลุ่มย่อย เป็นต้น
2. ประสบการณ์การเรียนรู้แบบใดเหมาะสมที่สุดกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เช่น ประสบการณ์ตรง ฟังคำบรรยาย อ่านเอกสาร/ตำรา
3. ถ้ามีการเลือกให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้โดยผ่านการรับรู้หรือการรับสัมผัส ต้องใช้สื่อที่มีคุณลักษณะอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการรับรู้หรือการรับสัมผัสนั้นๆ มากที่สุด
อย่างไรก็ตามจากคำแนะนำข้างต้นในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการสอน ควรเป็นการตัดสินใจในการใช้สื่อการสอนสำหรับการเรียนรู้ในแต่ละหลักการหรือแต่ละหัวข้อ หรือแต่ละประเด็นของบทเรียน ไม่ควรเป็นการตัดสินใจเพื่อการเรียนรู้ในภาพโดยรวมทั้งหมดของเนื้อหาทั้งหลักสูตร เพราะเนื้อหาแต่ละหัวข้อหรือแต่ละส่วนย่อมมีลักษณะธรรมชาติของเนื้อหาแตกต่างกันออกไป



โดยสรุป การเลือกสื่อการสอนตามคำแนะนำของ โรมิสซอว์สกี้ และ เคมพ์และสเมลไล นั้นควรเริ่มต้นจากการพิจารณางานการเรียนรู้หรือสถานการณ์การเรียนรู้ และนำมาพิจารณาเลือกคุณลักษณะของสื่อการสอนที่เหมาะสมจะใช้กับงานการเรียนรู้/สถานการณ์เรียนรู้นั้นๆ เมื่อได้กำหนดคุณลักษณะของสื่อที่เหมาะสมแล้ว จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงกลุ่มหรือประเภทของสื่อการสอนที่สามารถเลือกมาใช้งานได้ 

การสร้างสื่อการเรียนการสอน

 สื่อการสอน
          สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

ความสำคัญของสื่อการสอน  ดังนี้
          1. สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
          2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
          3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
          4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
          5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้เพราะ ได้ยินเสียงและได้เห็นภาพ  ประกอบกัน

 เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
          1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
          2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
          3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
          4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
          5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
          6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
             
 ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
                ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
      ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
                ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
             ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
               นำอดีตมาศึกษาได้  
     นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น

การใช้สื่อการสอน
          1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
          2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
          3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
          4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่องใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity

การสร้างสื่อการสอนด้วยภาพเคลื่อนไหว

บทเรียนนี้กล่าวถึงพื้นฐานการสร้างภาพเคลื่อนไหว  โดยกำหนดเป้าหมายและระบุขั้นตอนการปฏิบัติงาน  สามารถใช้ประกอบการบรรยายและการปฏิบัติ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  เป้าหมายแรกกล่าวถึงรูปแบบพื้นฐานของภาพเคลื่อนไหวแต่ละรูปแบบที่แตกต่างกัน  และการใช้เครื่องมือที่เพิ่มขึ้นในแต่ละรูปแบบ  เป้าหมายที่ 2 การใช้เครื่องมือช่วยเหลืออื่น ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำภาพเคลื่อนไหว

เป้าหมาย
3.1 การสร้างภาพเคลื่อนไหวพื้นฐาน
3.1.1 การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง
3.1.2 การเปลี่ยนขนาด
3.1.3 การหมุนวัตถุ
3.1.4 การเคลื่อนที่ตามเส้นทางที่กำหนด
3.1.5 การเปลี่ยนรูปร่าง
3.1.6 การเปลี่ยนวัตถุ
3.1.7 การเปลี่ยนสี
         3.2 การใช้เครื่องมือสร้างภาพเคลื่อนไหว
3.2.1 การใช้งาน Layer
3.2.2 การเปลี่ยนจุดศูนย์กลางวัตถุ
3.2.3 ความเร่ง ความหน่วง
3.2.4 การแทรกเสียง
3.2.5 การแทรกปุ่มควบคุม
3.2.6 การแทรก Movie Clip
3.2.7 การส่งออกแฟ้มข้อมูล
วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าและสามารถใช้เครื่องมือดังนี้
1. Oval Tool                                 
2. Text Tool                         
3. Arrow Tool                                
4. Line Tool
5. Sub selects Tool               
6. Fill Color Tool          
7. Rectangle Tool
3.2 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าและสามารถใช้เครื่องมืออื่นๆ ดังนี้
1. Insert Layer
2. Edit Center
3. Easing
4. Insert Sound
5. Insert Button
6. Insert Movie Clip
7. Export File

3.1 การสร้างภาพเคลื่อนไหวพื้นฐาน
3.1.1 การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง
การสร้างรูปภาพเคลื่อนไหว เส้นตรงสามารถทำได้ดังนี้
1.     สร้างรูปวงกลมโดยใช้เครื่องมือ Oval Tool
2.     กำหนดรูปวงกลมและเส้นขอบให้เป็นวัตถุกลุ่มเดียวกัน (Group) โดยใช้แป้นพิมพ์ Ctrl + A และ Ctrl+G
3.     คลิกที่ Frame 30 แล้วคลิกที่เมนู Insert > Keyframe (หรือใช้แป้นพิมพ์ F6) จะได้      ดังภาพ
4.     คลิกที่ Frame 1 แล้วคลิกเมนู Insert > Create Motion Tween
5.     คลิกที่ Frame 30 แล้วคลิกเครื่องมือ Arrow Tool ย้ายรูปไปตำแหน่งใหม่แล้ว Enter  จะได้ภาพเคลื่อนไหว

3.1.2 การเปลี่ยนขนาด
การสร้างรูปภาพเคลื่อนไหว เปลี่ยนขนาดสามารถทำได้ดังนี้
1.     สร้างวงกลมตาม หัวข้อ 3.1.1 ในขั้นตอน 1 ถึง ดังภาพ
2.     คลิกที่ Frame 30 แล้วคลิกเมนู Modify >Transform > Scale
คลิกเครื่องมือ  Arrow Tool ปรับ เปลี่ยนขนาดวงกลม จากนั้น Enter (หรือคลิกเมนู Control > Play) เพื่อแสดงภาพเคลื่อนไหว


3.1.3 การหมุนวัตถุ
       การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบการหมุนทำได้ดังนี้
1.     สร้างรูปสี่เหลี่ยมโดยใช้เครื่องมือ Rectangle Tool
2.     สร้าง Motion Tween ตามหัวข้อ 3.1.1 ในขั้นตอนที่  2 ถึง 4  ดังภาพ
3.     คลิก Frame 1 คลิกหน้าต่าง Frame  โดยใช้เมนู Modify > Frame
4.     กำหนดลักษณะ การหมุนในช่อง Rotate กำหนดลักษณะเป็น CW  times = 3  จะเกิดภาพเคลื่อนไหวตามเข็มนาฬิกา จำนวน  รอบ
หมายเหตุ   
CW =   ตามเข็มนาฬิกา
CCW = ทวนเข็มนาฬิกา

3.1.4 การเคลื่อนที่ตามเส้นทางกำหนด
การสร้างภาพเคลื่อนไหวตามเส้นทางที่กำหนด
1.     สร้างรูปวงกลมเลือกวัตถุทั้งหมดโดยใช้แป้นพิมพ์ Ctrl + A แล้วแปลงรูปให้เป็น Symbol แบบGraphicโดยใช้แป้นพิมพ์ F8
2.     สร้าง Motion Tween ตามหัวข้อ 3.1.1 ในขั้นตอนที่ 2 ถึง 5
3.     คลิกที่รูปวงกลมแล้วแทรก Guide Layer โดยใช้เครื่องมือดังรูป
4.     ที่ Guide Layer สร้างเส้นตรงจากกึ่งกลางวงกลม โดยใช้เครื่องมือ Line Tool
5.     คลิก Arrow Tool ปรับเปลี่ยนลักษณะเส้นให้เป็นเส้นโค้ง และที่ Frame 30 ย้ายวงกลมให้จุดกึ่งกลางอยู่ตรงตำแหน่งปลายเส้นที่สร้างขึ้น
Tip ใช้แป้นพิมพ์ Ctrl ร่วมกับ Arrow Tool เปลี่ยนรูปร่างของเส้นได้

3.1.5 การเปลี่ยนรูปร่าง
    การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเปลี่ยนรูปร่าง
1.     ที่ Fill Color ปรับเปลี่ยนสีพื้นเป็นแบบ Gradient แล้วสร้างรูปวงกลม
2.     คลิกที่ Frame 30 เรียกใช้ Sub select Tool
3.     ใช้เมาส์ลากครอบรูปวงกลม จะปรากฏจุดล้อมรอบดังภาพ  
4.     เปลี่ยนตำแหน่ง anchor point ด้านบน แล้วเปลี่ยน Tangent handles เปลี่ยนรูปร่างวงกลมเป็นดังภาพ
5.     คลิกที่ Frame 1 สร้าง Motion Tween โดยคลิกเมนู Modify > Frame จะปรากฏหน้าต่าง Frame ดังภาพเลือกรายการ Frame และปรับค่า Tweening  เป็นแบบ Shape แล้วปิดหน้าต่าง Frame จากนั้น Enter จะปรากฏการเคลื่อนไหวแบบเปลี่ยนรูปร่าง
3.1.6 การเปลี่ยนวัตถุ
    การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเปลี่ยนวัตถุ
1.     ใช้เครื่องมือ Text Tool
2.     เปลี่ยนแบบอักษรโดยเรียกใช้เมนู Text >Font ให้เป็น AngsanaUPC และขนาดอักษรให้มีขนาดเท่ากับ 120
3.     สร้างตัวอักษรสีน้ำเงิน พิมพ์คำว่า “ITEd.” แล้วใช้ Arrow Tool คลิกที่ตัวอักษร  จากนั้น Break Apart โดยใช้แป้นพิมพ์ Ctrl + B ตัวอักษรจะเป็นดังภาพ
4.     คลิกที่ Frame 30 แทรก keyframe ใช้ Eraser Tool  ลบตัวอักษรเดิมให้หมด
5.     สร้างตัวอักษรสีน้ำแดง คำว่า “Flash” แล้ว Break Apart ตามวิธีในข้อ 3
6.     คลิก Frame 1 สร้าง Motion Tween ตามหัวข้อ 3.1.5 ข้อที่ 5 แล้ว Enter  จะเกิดภาพเคลื่อนไหวดังภาพ

3.1.7 การเปลี่ยนสี
      การเปลี่ยนสีวัตถุทำได้ดังนี้
1.     สร้างรูปวงกลมและ Groupตามหัวข้อ 3.1.1  ในข้อ 1 ถึง 2
2.     คลิก Frame 30 แล้วแทรก Frame โดยคลิกเมนู Insert > Frame หรือใช้แป้นพิมพ์ F5
3.     คลิกที่ Frame 1 แล้ว สร้าง Motion Tween จะปรากฏดังภาพ
4.     คลิก Frame 30 แล้วแทรก Keyframe โดยคลิกเมนู Insert > Keyframe หรือใช้แป้นพิมพ์ F6
5.     ปรับเปลี่ยนสีวงกลม โดยคลิกเมนู Modify > Frame หรือใช้แป้นพิมพ์ Ctrl + F จะปรากฏหน้าต่าง Frame เลือกหัวข้อ Effect และรายการ Tint  กำหนดค่า R = 255 ปิดหน้าต่างแล้ว Enter

3.2 การใช้เครื่องมือสร้างภาพเคลื่อนไหว
3.2.1 การใช้งาน Layer
การใช้งาน Layer สามารถทำได้ดังนี้
1.           สร้างภาพเคลื่อนไหว ตามหัวข้อ 3.1.1
2.           แทรก Layer โดยคลิกเมนู Insert > Layer หรือใช้เครื่องมือดังภาพ
3.           ที่ Layer 2 สร้างภาพเคลื่อนไหว ตาม หัวข้อ 3.1.3
4.           เปลี่ยนระยะการแสดงผลของ Layer 2 ไปอยู่ที่ Frame 15 ถึง 45 โดย Arrow Tool ร่วมกับแป้น shift  คลิกที่ Frame 1, Frame 30 และ Frame ระหว่าง 2 – 29 จากนั้นลาก Frame ที่เลือกไปตำแหน่งใหม่


3.2.2 การเปลี่ยนจุดศูนย์กลาง
การเปลี่ยนจุดศูนย์กลางของวัตถุ
1.           สร้างรูปวงกลมและเส้น ตรงแล้ว Group เข้าด้วยกัน
2.           สร้าง Motion Tween
3.           ที่ Frame 1 เปลี่ยนจุดศูนย์กลางโดยเรียกเมนู Modify >Transform > Edit Center แล้วย้ายจุดศูนย์กลางของวัตถุดังภาพ ที่ Frame 30 ทำเช่นเดียวกัน
4.           หมุนวัตถุโดยเรียก ใช้เมนู Modify >Transform > Scale and Rotate กำหนด Rotate = 30 degrees ดังภาพ
5.           ที่ Frame 60 , 90 และ 120  สร้าง Motion Tween และที่ Frame 90 กำหนด Rotate = - 30 degrees
เป็นการเคลื่อนที่ของแบบลูกตุ้ม
3.2.3 ความเร่ง ความหน่วง
การสร้างรูปภาพเคลื่อนไหวที่มีความเร่งและความหน่วงทำได้ดังนี้
1.           การสร้างรูปภาพ เคลื่อนไหวตามหัวข้อ 3.1.1  ในข้อ 1 ถึง 5 โดยให้มีทิศทางการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
2.           คลิก Frame 1 แล้วเรียกใช้เมนู Modify > Frame (หรือ Ctrl + F ) จะปรากฏหน้าต่าง  Frame ดังภาพ ที่รายการ Frame ปรับค่า Easing = 100  จากนั้นปิดหน้าต่าง Frame
3.           ที่ Frame 30 สร้างภาพเคลื่อนไหวตามข้อ 1 แต่ให้มีทิศทางกลับกันและกำหนด ค่า Easing = -100 ได้ภาพ เคลื่อนไหวคล้ายลูกบอล

3.2.4 การแทรกเสียง
การแทรกเสียงทำได้ดังนี้
1.          สร้างภาพเคลื่อนไหวตาม หัวข้อ 3.2.3
2.          ใช้คลังข้อมูลเสียงโดยใช้คลิกที่เมนู Window เมนูย่อย Common Libraries > Sounds
3.          เลือกรายการเสียง “Brick Drops” ใช้เมาส์ลากมาวางบน stage
4.          ปรากฏสัญลักษณ์ของเสียงดังรูป
5.          สามารถแทรกเสียงรูปแบบอื่น ๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น Wav sound , Mp3 sound, Aiff  sound โดยคลิกเมนู File > import (หรือ Ctrl + R) แล้วเลือกแฟ้มข้อมูลเสียงที่ต้องการ จากนั้นคลิกเมนู Modify > Frame จะปรากฏหน้าต่าง Frame ดังภาพ ให้เลือกรายการ Sound จะมีรายการแฟ้มข้อมูลเสียงที่แทรกไว้

3.2.5 การใช้งานปุ่มควบคุม
การสร้างปุ่มควบคุมทำได้ดังนี้
1.           สร้างภาพเคลื่อนไหวตาม หัวข้อ 3.2.3 แล้วแทรก Layer 2
2.           แถบหน้าต่าง Library-Buttons คลิกเมนู Window > Common Libraries > Buttons จะปรากฏหน้า ต่าง Library-Buttons
3.           เลือกรูปแบบ Button ชื่อ “Pill Button” ดังภาพ ลากมาวางบน stageปรับขนาดและตำแหน่งให้พอเหมาะ
4.           แถบหน้าต่าง Object Actions คลิกเมนู Window > Actions ดังภาพ เลือกรายการ Basic Action แล้วดับเบิลคลิกที่คำสั่ง stop
5.           เพิ่มคำสั่ง “play” โดยเลือก Button แล้ว ที่แถบหน้าต่าง Object Actions เลือกรายการ Basic Action แล้วดับเบิลคลิกที่คำสั่ง Play

3.2.6 การแทรกภาพเคลื่อนไหว
การแทรกภาพเคลื่อนไหว สามารถทำได้ดังนี้
1.     แทรก Movie Clip โดยคลิกที่เมนู Windows > Common Libraries > Movie Clips
2.     เลือกรายการ Fish Movie Clip แล้วใช้เมาส์ลากมาไว้บนพื้นที่ทำงาน (Stage)
3.     แสดงภาพเคลื่อนไหว โดยคลิกเมนู Control > Test Movie (หรือใช้แป้นพิมพ์ Ctrl + Enter)
4.     สร้าง Movie Clip ใหม่ โดยคลิกเมนู Insert > New Symbol (หรือใช้แป้นพิมพ์ Ctrl + F8) จะปรากฏหน้าต่างดังภาพ เลือกรายการ Movie Clip  จากนั้น สร้าง Motion Tween  ตามหัวข้อ 3.1.1 จะได้ Movie Clip ใหม่ไว้ใช้งานได้

3.2.7 การส่งออก
การส่งออกแฟ้มข้อมูลภาพเคลื่อนไหวสามารถทำได้ดังนี้
1.     สร้างภาพเคลื่อนไหวตามหัวข้อ 3.2.6
2.     แสดงภาพเคลื่อนไหวได้โดยเรียกใช้เมนู File > Publish Preview > Default (หรือ F12) จะแสดงภาพเคลื่อนไหวใน Web Browser
การส่งออกแฟ้มข้อมูลภาพเคลื่อนไหว โดยคลิกเมนู File > Export Movie สามารถส่งออกได้หลายรูปแบบดังภาพ นำไปใช้กับงานอื่น ๆ ได้  ที่นิยมส่งออก คือ Flash Player (*.swf) และ Windows AVI (*.avi